วารสารอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2     สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ISSN 2408-249X
  
วัตถุประสงค์
 
1.
เพื่อเผยแพร่ความรู้ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในทางวิชาการด้านกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข
 
2.
เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการด้านกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมให้ผู้ทรงคุณวุฒิ
คณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
 
3.
เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของวารสารวิชาการ
 
4.
เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
กำหนดการตีพิมพ์ ปีละ 3 ฉบับ
  ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน
  ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม
  ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม
 
 
 
 
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
1.
การเตรียมต้นฉบับสำหรับบทความวิจัย
 
1.1
บทความวิจัย ประกอบด้วย
   
1.
ส่วนปก
      ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป ถ้า บทความเป็นภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทย
    และภาษาอังกฤษ
      ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อตำแหน่ง – ชื่อเต็ม – นามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เขียนประสานงาน
    ให้ใส่ที่อยู่ให้ละเอียด  พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ / โทรสาร  และ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ และให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์
    กำกับด้วยไว้บนนามสกุล เพื่อระบุที่อยู่ของผู้เขียน
      บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจารณ์ เป็นต้น
    ถ้าบทความเป็นภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อน
      คำสำคัญ (Key words) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล
      **หมายเหตุ : เนื้อหาส่วนปกจะต้องเขียนให้อยู่ในกระดาษจำนวน 1 หน้า เท่านั้น
   
2.
ส่วนเนื้อหา
      บทนำ (Introduction) เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการตรวจเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์
    และวิธีการ (Materials and Methods) / วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้ชัดเจน
      ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการทดลอง วิจัย อย่างชัดเจน ตรงประเด็น ควรมีรูปภาพ และ/หรือ ตารางประกอบ
    การอธิบายผลในตารางและรูปภาพต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
      การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการอภิปรายผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเห็นคล้อยตาม เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น
    เพื่อเสนอแนวทางที่จะใช้ประโยชน์  ผลการวิจัยและการอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจนำมาเขียนตอนเดียวกันได้
      สรุป (Conclusion) และข้อเสนอแนะ (Recommendation) เป็นการสรุปประเด็น และสาระสำคัญของการวิจัย
      กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ความ ช่วยเหลือในการวิจัย อาจมีหรือไม่มีก็ได้
      เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นรายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยที่ได้รับการตรวจสอบเพื่อนำมาเตรียมรายงาน
    และมีการอ้างอิงถึงเฉพาะเอกสาร  ที่ปรากฏในบทความเท่านั้น การอ้างอิงให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร นำโดยกลุ่มเอกสารภาษาไทย
    โดยให้ยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังต่อไปนี้
   
3.
การอ้างเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความ (In-text Citations)
      การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องใช้ ระบบนามปี (Name-year System) เท่านั้น โดยเริ่มจากชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารนั้น
    ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้เพียงชื่อสกุลนำหน้า แล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสารถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยให้ใช้ชื่อต้นนำหน้า ตามด้วยนามสกุล
    และปีที่เผยแพร่เอกสาร  ในกรณีที่ผู้แต่ง 2 คนให้ใส่ชื่อครบทุกคน และถ้ามากกว่า 2 คน ให้ใส่เฉพาะชื่อคนแรก แล้วตามด้วย “และคณะ”
    (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้ “et al.,”)
 
1.2
บทความวิชาการ ประกอบด้วย
   
1.
ส่วนปก
      มีส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย และเขียนให้อยู่ในกระดาษจำนวน 1 หน้า เท่านั้น
   
2.
ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
      บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของที่มาของมูลเหตุของการเขียนบทความ
      วิธีการศึกษา/วิธีดำเนินการ (Method) (ถ้ามี) เป็นการอธิบายวิธีการศึกษาหรือการดำเนินการตามประเภทของบทความวิชาการ
      ผลการศึกษา/ผลการดำเนินการ (Results) เป็นการเสนอผลอย่างชัดเจน ตามประเด็นโดยลำดับ ตามหัวข้อที่ศึกษาหรือดำเนินการ
      สรุป (Conclusion) สรุปประเด็น และสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา
   
3.
รูปแบบการพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการ
      การตั้งค่าหน้ากระดาษ
      - ระยะขอบของขอบบน (Top Margin) ขอบล่าง (Bottom Margin) 2.54 ซม. ขอบขวา (Right Margin) 2.54 ซม.
      ขอบซ้าย (Left Margin) 3.17 ซม.
      - รูปแบบตัวอักษร ใช้ TH Sarabun ตลอดทั้งบทความ ขนาด 15
      - หมายเลขหน้า ตำแหน่ง ด้านบน
      - จำนวนหน้า 10 -15 หน้า
      - ชื่อวารสาร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
      - ชื่อบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
      - ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 15 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
      - ตัวเลขยก (บนนามสกุล) ขนาดตัวอักษร 14
      - ตำแหน่งทางวิชาการและที่อยู่ ภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 12
      - ชื่อบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 ตัวหนา และชิดขอบ
      - เนื้อหาบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14
      - เนื้อหาบทความ ขนาดตัวอักษร 15
2.
หลักการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง (Reference list)
 
1.
หนังสือ
    ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี).//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
 
2.
หนังสือแปล
    ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่องของหนังสือแปล//แปลจาก(ชื่อเรื่องในภาษาเดิม).//โดย/(ชื่อผู้แปล).//ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
 
3.
บทความหรือบทในหนังสือ
    ผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม.//ชื่อเรือง./เลขหน้า.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
 
4.
บทความในหนังสือรายงานประชุมทางวิชาการ/สัมมนาทางวิชาการ
    ผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//หน้า/เลขหน้า.//ใน/ชื่อบรรณาธิการ.//ชื่อเรื่องรายงานการประชุม.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
 
5.
วารสาร
    ผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ปีที่.//ฉบับที่.//เลขหน้า.
 
6.
บทความในหนังสือพิมพ์
    ชื่อผู้เขียน.//(ปี,/วัน,/เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์./หน้า/เลขหน้า.
 
7.
บทความในสารานุกรม
    ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์.//ชื่อบทความ./ใน/ชื่อสารานุกรม.//เล่มที่/:/เลขหน้า-เลขหน้า.
 
8.
วิทยานิพนธ์
    ผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์//ชื่อสาขา/คณะ/มหาวิทยาลัย.
 
9.
สื่ออิเล็กโทรนิกส์(สื่ออิเล็กโทรนิกส์) :WWW.
    ผู้เขียน.//(ปี.)//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหรือนิตยสาร.//ปีที่/(เดือนหรือฉบับที่):/เลขหน้า(ถ้ามี).//วัน เดือน ปีที่ค้นข้อมูล/ชื่อฐานข้อมูลหรือที่อยู่ของบทความ/(URL).
 
10.
ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน
    ชื่อหน่วยงาน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//เล่มที่(ถ้ามี).//ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี).//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
 
11.
มีเฉพาะชื่อบรรณาธิการเป็นผู้รวบรวม
    ชื่อบรรณาธิการ หรือผู้รวบรวม หรือผู้เรียบเรียง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//เล่มที่(ถ้ามี)//ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี)//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
 
12.
กฎหมาย จดหมายเหตุ คำสั่ง ประกาศ
    ชื่อหน่วยงาน.//(ปี,/วัน,/เดือน).//ชื่อของเอกสาร.//เลขที่ของเอกสาร(ถ้ามี).
   
  ตัวอย่าง
“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518,” ราชกิจจานุเบกษา 92 (16 กุมภาพันธ์ 2518), หน้า 120.
กรมสรรพากร, ,” (2551, 12 เมษายน). “หนังสือที่ กค. 0802/10123 เรื่องงบประมาณการจ่ายเงินแผ่นดิน ร.ศ. 111-112,”
  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, หน้า 1, 3.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558, 27 มิถุนายน) “รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด, ครั้งที่ 5/2558”.
คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์, (2528, 27 มิถุนายน). “คำวินิจฉัยที่ 20/2538 เรื่อง นายวิษณุ หงส์พงศ์ กับ พวกร้องทุกข์
  ให้เพิกถอนประกาศกระทรวงสาธารณสุข”.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ,” (2551, 12 เมษายน). “มติคณะรัฐมนตรี ที่ สร. 0404/ว. 50 เรื่อง การลงโทษข้าราชการ
  ที่กระทำความผิดวินิจฉัยกรณีทุจริตในการสอบ”.
3.
เกณฑ์การประเมินบทความ
    กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณา จะส่งกลับเพื่อทำการแก้ไข
  ถ้าผ่านจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ  ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ
พร้อมทั้งวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข  ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ผลงาน จำนวน 2 ฉบับ
       
Content 8
  ทุกบทความได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวฒุิ (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน ก่อนตีพิมพ์ลงในวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข
  และบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุขฉบับนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนบทความและเจ้าของผลงาน
  ไม่มีข้อผูกพันกับกองบรรณาธิการวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข
  และกองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเนื้อหาบทความเพื่อการศึกษาหรือปฏิบัติงาน แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 
  ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความทางวิชาการหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อลงในวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข กรุณาส่งมาที่กองบรรณาธิการวารสาร
   
 ที่ปรึกษา
  รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนุสุกาญจน์
  รองศาสตราจารย์ ดร. สุคนธา  คงศีล
  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ พิทยา จารุพูนผล
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีระ  ครึกครื้นจิตร
บรรณาธิการ
  ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมน  พฤฒิภิญโญ มหาวิทยาลัยมหิดล
กองบรรณาธิการ
  รองศาสตราจารย์ ดร. นิทัศน์  ศิริโชติรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  อาจารย์ ดร. สุธี  อยู่สถาพร มหาวิทยาลัยมหิดล
  อาจารย์ ดร. ยุวนุช  สัตยสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  อาจารย์ ดร. วัลลีรัตน์  พบคีรี มหาวิทยาลัยมหิดล
  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ วิฑูรย์  อึ้งประพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิมพ์พรรณ  ศิลปสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิง สาวิตรี  อัษณางค์กรชัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยธิดา  ตรีเดช ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  รองศาสตราจารย์ ดร. สุรชาติ ณ หนองคาย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก กรรมการสภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
  รองศาสตราจารย์ ดร. ลาวัลย์  ถนัดศิลปกุล ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  รองศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา  จันทร์คง ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  รองศาสตราจารย์ ดร. ฤาเดช เกิดวิชัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  รองศาสตราจารย์ ดร. วงศา เล้าหศิริวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยนเรศวร
  รองศาสตราจารย์ ดร. สุมัทนา กลางคาร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  รองศาสตราจารย์ ดร. พักตร์พิมล มหรรณพ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภูมินทร์ บุตรอิทนร์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนภัทร์ ปัจฉิมม์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวรีย์ ยอดฉิม ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  อาจารย์ ดร. รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  อาจารย์ ดร. นิสิต อินทมาโน ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  อาจารย์ บุญเรือง ขาวนวล ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยทักษิณ
  อาจารย์ นำพร อินสิน ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  ดร. นายแพทย์ ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  ดร. วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
  แพทย์หญิง ฉันทนา หมอกเจริญพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
 
     
       
สำนักงาน
   
  ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท กรุงเทพฯ 10400
  โทรศัพท์ 0 2644 8833 ต่อ 116 โทรสาร 0 2644 8833 ต่อ 193
  http://phad.ph.mahidol.ac.th/journal_law/index.html
ผู้จัดทำ
 
  บรรณาธิการ ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท กรุงเทพฯ 10400
  โทรศัพท์ 0 2644 8833 ต่อ 116 โทรสาร 0 2644 8833 ต่อ 193
  e-mail: phlaw.journal@gmail.com, chardsumon.pru@mahidol.ac.th , chardsumon@gmail.com
       
พิมพ์ที่ :
บริษัท โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก (1997) จำกัด    
       
 

 
ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
คณะสาธารณสุขศาสตรมหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400.โทร 0-2354-8543